ประโยชน์ของ Live CD
ข้อ 1: ทดลองใช้งาน OS ก่อนทำการติดตั้งจริงลงบน harddisk (ใครๆก็รู้)
ข้อ 2: กู้ข้อมูลเวลา harddisk มีปัญหา ไม่สามารถบูทเข้า OS ที่ได้ติดตั้งไว้ได้ (อาจจะยังไม่รู้)
ข้อ 3: แก้ password เวลาลืม password ทำให้ไม่สามารถ login ได้ (อาจจะยังไม่รู้)
การใช้ Live CD กู้ข้อมูล
step 1: ใส่แผ่น Live CD แล็วก็บูทเครื่องตามปกติจนเข้ามาเจอหน้า Desktop
step 2: เปิด terminal แล้วพิมพ์
$sudo -i
เพื่อเป็น root ของระบบ
step 3: พิมพ์คำสั่ง
#fdisk -l
เพื่อดูตารางพาร์ทิชัน
จากรูปจะเห็นว่าในเครื่องผมมี partition ที่เป็น linux อยู่ 2 พาร์ทิชัน คือ hda3 กับ hda6 แต่ว่า hda6 เป็น swap พาร์ทิชัน ดังนั้นพาร์ทิชันในเครื่องผมที่ได้ทำการติดตั้ง ubuntu ลงไป คือ hda3
step 4: สร้างไดเรคทอรีชื่อ data เอาไว้ที่ Desktop ครับ(จะสร้างไว้ที่อื่นก็ได้นะครับ)
#mkdir /home/ubuntu/Desktop/data
step 5: ทำการ mount ไดเรคทอรี data เข้ากับพาร์ทิชัน hda3(การ mount เป็นการสร้างช่องทางเข้าไปติดต่อกับ hardware ครับ ซึ่งเราจะทำการเรียกใช้ข้อมูลภายใน hda3 ผ่านทางไดเรคทอรี data ที่ได้สร้างไว้ครับ)
#mount /dev/hda3 /home/ubuntu/Desktop/data
step 6: หลังจาก mount เราก็สามารถเข้าไปในไดเรคทอรี data เพื่อ copy ข้อมูลภายใน harddisk ได้(บางคนอาจจะคิดว่าแล้วทำไม ไม่กู้ข้อมูลด้วยวิธีการ ลงโปรแกรมที่ทำให้ windows มองเห็น partition ที่เป็น ext2,ext3 แล้วเข้าไปกู้ข้อมูลใน linux โดยบูทเข้า windows ไปเอาข้อมูลแทนล่ะ มันจะไม่ง่ายกว่าเหรออีตา rooney)
ตอบ: ทำงั้นก็ได้นะ แต่ถ้าพาร์ทิชัน linux ผมมันไม่ได้เป็น ext2 หรือ ext3 แต่ผมดันฟอร์แมตมันเป็น reiserfs ล่ะครับ windows มันจะมองเห็นมั๊ยอ่ะ แล้วถ้าไอ้เครื่องที่จะไปกู้ข้อมูล มันดันไม่ใช่เครื่องที่ลง 2 OS ตามตัวอย่างแต่ว่าลง linux ไปเพียวๆเลยทั้งก้อนล่ะจะกู้โดยใช้ windows ยังไงเนี่ย
การใช้ Live CD แก้ password เวลาลืม password
* ก่อนจะทำการแก้ password ได้ต้องทำตาม 6 step ข้างบนให้เสร็จก่อนนะ(ต้องมองเห็นพาร์ทิชันที่เป็น linux ให้ได้ก่อน)
step 1: พิมพ์คำสั่ง
#chroot /home/ubuntu/Desktop/data
เพื่อเปลี่ยนตัวเองเข้าไปอยู่ในระบบ linux ที่ได้ทำการ mount เอาไว้ (ถ้าไม่ทำการเปลี่ยนตัวเองเข้าไปอยู่ใน environment ของไดเรคทอรี data จะถือว่าเราอยู่ใน environment ของ Live CD นะครับ จะแก้ username,password ของ linux ที่ได้ทำการติดตั้งไว้บน harddisk จะทำไม่ได้นะครับ แต่ที่เข้าไปใน environment ในไดเรคทอรี data แล้วสามารถแก้ไขอะไรได้ เพราะว่าไดเรคทอรี data เราได้ทำการ mount ให้เป็น hda3 แล้วนั่นเอง)
step 2: พิมพ์คำสั่ง
#passwd rooney
หลังจาก enter มันจะมี prompt ขึ้นมาให้พิมพ์ password ค่าใหม่ลงไป ซึ่งจากตัวอย่างเป็นการแก้ password ของผู้ใช้ชื่อ rooney เรื่องของเรื่อง คือ เราจำไม่ได้ว่าผู้ใช้ที่ชื่อ rooney ในระบบเรามี password เป็นอะไรจึงทำให้ไม่สามารถ login ได้ก็เลยต้องแก้เป็นค่าใหม่
*ถ้าซวยถึงขั้นลืม username ไปด้วยก็ต้องเข้าไปดูในไฟล์ passwd ที่เก็บรายชื่อผู้ใช้ในระบบเอาไว้ดังนี้
#less /etc/passwd
แล้วก็มองหาบรรทัดที่มีชื่อผู้ใช้ที่คุ้นๆตา เช่น มองไปมองมาก็ไปเจอบรรทัดที่มีชื่อผู้ใช้ว่า ronaldo ก็น่าจะพอนึกออกได้บ้างว่า "เฮ้ย! นี่มัน user ที่เรา add ไปกับมือนี่หว่า แก้ password ไอ้นี่เลยดีกว่าจะได้ login ได้"แต่ถ้าไล่ดูทุกบรรทัดก็ยังไม่เจอบรรทัดไหนที่มีชื่อผู้ใช้งานที่พอจะคุ้นเลยสักบรรทัดก็ต้องขอบอกว่าโชคดีจ้า